การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
บริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

มาเล-สิงคโปร

25540227

กิจกรรมที่ 3 การใช้โปรแกรม spss

              ในปัจจุบันการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา จะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ งานวิจัย Thesis หรือ Dissertation เพื่อนำเสนอขอรับปริญญา ตลอดจนการทำวิจัยของนักวิจัยในหน่วยงานต่าง ๆ ครูที่ทำวิจัยเพื่อขอเลื่อนตำแหน่ง ปรับเงินเดือน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงคุณภาพ และข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงปริมาณ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยผู้วิจัยให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวด เร็วและถูกต้องมีอยู่ด้วยกันหลายโปรแกรม ซึ่งโปรแกรม SPSS ก็เป็นโปรแกรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากใช้งานได้ง่าย และสามารถหามาใช้ได้ง่าย นอกจากนี้โปรแกรมยังมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จึงขอสรุปการใช้งานโปรแกรม SPSS ดังนี้
1. การเรียกใช้งานโปรแกรม SPSS
    - ให้คลิก Icon SPSS ที่ Desktop หรือคลิกที่ปุ่ม Start เลือก All Program คลิกที่ Program SPSS ก็จะปรากฏหน้าต่างของโปรแกรม SPSS
2. การสร้างแฟ้มข้อมูล
    - การสร้างแฟ้มข้อมูล คือ การบันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถามได้ลงในโปรแกรม SPSS ซึ่งในส่วนนี้จะประกอบด้วย
          * Data View
          * Variable View
     การสร้างแฟ้มข้อมูล Data Editor Variable View จะปรากฏดังนี้
          1. การตั้งค่าต่างๆ ลงใน Variable View โดยมีเมนูย่อย ดังนี้
               1. Name ตั้งชื่อตัวแปร เช่น เพศ
               2. Type กำหนดชนิดของตัวแปร
               3.Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข
               4.Comma เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และโปรแกรม จะใส่เครื่องหมาย Comma Dot เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และมี Comma หนึ่งอัน สำหรับคั่นทศนิยม
               5.Width คือ ความกว้างของข้อมูลโดยรวมจุดและจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมด้วย สามารถกำหนดความกว้างของข้อมูลได้สูงสุด 40 หลัก
               6.Decimals คือ จำนวนหลักหลังจุดทศนิยม กำหนดทศนิยมได้สูงสุด 10 หลัก
               7.Label ส่วนที่ใช้อธิบายความหมายชื่อตัวแปร เนื่องจากการกำหนดชื่อตัวแปรที่ Name กำหนดได้เพียง 8 ตัวอักษร เพื่อประโยชน์ตอนแสดงผลลัพธ์
               8.Values กรณีที่ข้อมูลเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดค่าตัวเลข (Value) และ Value Label เพื่ออธิบายความหมายที่แท้จริงของตัวเลขนั้น เช่น คำถามเกี่ยวกับ เพศ ( เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ) มีคำตอบให้เลือก ดังนี้ เพศชาย เพศหญิง ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศชาย กำหนดให้เพศชายมีค่าเป็น 1 ดังนั้น Value จะใส่ 1 Value Label จะใส่ ชาย ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศหญิง กำหนดให้เพศหญิงมีค่าเป็น 2 ดังนั้น Value จะใส่ 2 Value Label จะใส่ หญิง
               9.Missing เป็นการกำหนดค่าที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้วิจัยเลือก Discrete Missing Values แล้วพิมพ์ตัวเลขลง ใช้แทนความหมายบางค่าที่ไม่สมบูรณ์ เช่น 9, 99, 999 คำถามเกี่ยวกับเพศ มีคำตอบให้เลือกดังนี้ เพศชาย เพศหญิง โดยผู้วิจัยจะกำหนดค่าที่เป็นไปไม่ได้สูงสุดของตัวแปรนั้นมาเป็นรหัส คือ 9
              10.Columns เป็นการกำหนดความกว้างของ Column Align เป็นการกำหนดให้ค่าของข้อมูลแสดงชิดซ้าย ขวา หรือกลาง
              11. Measure การกำหนดลักษณะข้อมูลว่าเป็น Scale, Ordinal หรือ Nominal Scale คือ ข้อมูลที่ใช้วัด Ordinal คือ เลขแสดงลำดับ Nominal คือ ข้อมูลนามบัญญัติ

3. การพิมพ์ค่าข้อมูล  Data View
     เมื่อผู้วิจัยกำหนด Variable View เรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาที่ Data View เพื่อพิมพ์ค่าของข้อมูลต่างๆ ตามที่ผู้ตอบข้อมูลในแบบสอบถามทุกฉบับ  และบันทึกแฟ้มข้อมูลทุกครั้งด้วยคำสั่ง File Save
4.  การวิเคราะห์ข้อมูล
     เมื่อผู้ทำการวิจัยจัดการกับข้อมูลเสร็จแล้ว จะวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้าน มีวิธีการ  ดังนี้
     -  คลิกที่แถบคำสั่ง Transform เลือก compute แล้วดำเนินการจัดการกับข้อมูลตามแบบสอบถาม แต่ละด้าน แล้วเลือกคลิก OK ก็จะได้ทราบค่าสถิติเบื้องต้น
     -  การนำเสนอข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น วิธีการทางสถิติที่นิยมใช้กันมาก คือ
             - การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
             - การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางหลายทาง
             - การแจกแจงความถี่ในรูปของกราฟ
             - การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาโดยโปรแกรม SPSS
5.  การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
     เป็นการแจกแจงข้อมูลโดยใช้ ตัวแปรเพียงตัวเดียว มีขั้นตอน  ดังนี้
          1. เลือกคลิกเมนูและคำสั่งตามลำดับ ดังนี้ Analyze Frequencies จะปรากฏวินโดวส์ของ Frequencies ดังนี้ Descriptive Statistics
         2. เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไปไว้ในบล์อคของ Variable(s)
         3. คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output

          ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS Valid คือ ข้อมูลที่นำมาแจกแจงความถี่    
          Missing คือ ข้อมูลที่ขาดหายไปหรือไม่สมบูรณ์
         Total คือ ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาแจกแจงความถี่
          Frequency คือ ค่าที่แสดงจำนวน หรือความถี่ที่นับได้
          Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวน หรือความถี่ที่นับได้ ในรูปร้อยละ
          Valid Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวนที่นับได้ในรูปร้อยละ โดยไม่นำจำนวนข้อมูลที่เป็น missing มารวม
          Cumulative Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวนสะสมในรูปร้อยละ โดยนำจำนวนข้อมูลที่เป็น missing มารวม
6.  ความหมายของผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS
          - การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น
          - การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
          - ค่าเฉลี่ย (Mean)
          - ฐานนิยม (Mode)
          - มัธยฐาน (Median)
          - การวิเคราะห์การกระจายของข้อมูล
          - พิสัย (Range)
          - ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation)
          - ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Average Deviation)
          - ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
          - สัมประสิทธิ์การแปรผัน (Coefficient of Variation)

กิจกรรมที่ 6 ประโยชน์และการนำไปใช้

ตามที่ได้เรียนรู้วิธีการสร้างบล็อกและใช้งานแล้ว ซึ่งอาจารย์ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและสร้างบล็อคด้วยตนเอง  และดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บล็ค  คิดว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากเพราะ  ตอนนี้ก็ได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนระดับ  มัธยมศึกษาตอนต้น ในรายวิชาคอมพิวเตอร์  ได้แลกเปลี่ยนความรู้  ข้อมูลกันและกัน นักเรียนมีความสนใจในการใช้บล็อคแต่เนื่องด้วยโรงเรียนยังขาดเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ทำให้การใช้ยังขาดแคลน
           ถือว่าเป็นประโยชน์  และเหมาะมากที่ครู  หรือผู้บริหารจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับนักเรียน    หรือเพื่อนร่วมงาน  ต่อไป  และเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ  ไปใช้ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง  รวดเร็วทันเหตุการณ์


ข้อดี ของการทำบล็อก
     1. สร้างง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ก็ทำได้
     2. ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเช้าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ต
     3. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คนสาธารณะได้รับรู้
     4. เป็นเครื่องมือช่วยในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กรได้เป็นอย่างดี
     5. เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากประสบการณ์  หรือผู้รู้โดยตรง  เนื่องจากผู้เขียน บล็อก มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีมีความรู้เฉพาะด้านๆ ความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน บล็อก ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
     6. ทำให้ทันต่อ เหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
     7. มีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกหรือไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม
     8. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก
     9. ผู้ที่สร้างบล็อกสามารถ ปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย
     10. สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
    11. เป็นเหมือนบันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลขององค์กร

ข้อเสียของการทำบล็อก
     1. อิสระในการนำเสนอบทความ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสต์เรื่องที่ไม่เหมาะสมได้
     2. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ในเชิงวิชาการ
     3. เปิดโอกาสให้พวกที่ไม่หวังดี เข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน หรือผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้

กิจกรรมที่ 5 ไปเที่ยวต่างประเทศ

ส่วนรูปภาพจะทำเป็นสไลด์ เพื่อนำเสนอพร้อมคำบรรยาย เป็นแค่เพียงบางส่วนเพราะกิจกรรมสนุกมาก รายละเอียดการเดินทางตั้งแต่วันแรกถึงวันที่ 28 มกราคม 2554 ดังนี้

วันจันทร์  ที่  24 มกราคม 2554 

          ออกเดินทางจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช   เวลา  04.00  น.  มุ่งหน้าสู่ด่านสะเดา จ.สงขลา ระหว่างทางรับประทานอาหารเช้า บนรถ  (ข้าวมันไก่ ) เมื่อถึงด่านดำเนินการประทับ ตราหนังสือเดินทาง  ที่ด่านชายแดนไทยเข้าสู่ด่านจังโหลน ประเทศมาเลเซีย  และเดินทางเข้าสู่สถานที่ศึกษาดูงานแห่งแรก  ณ  ประเทศมาเลเซีย  คือ  Sekolah  Kebangsaan Kodiag school ได้ดูระบบการจัดการเรียนการสอน  ได้รับการต้อนรับจากคณะครู  นักเรียนที่นี่เป็นอย่างดีมาก  และรับประทานอาหารเที่ยง( ข้าวหมกไก่ ) ที่ Sekolah  Kebangsaan Kodiag school  แล้วออกเดินทางต่อเพื่อไปให้ทุกคนแลกเงิน ณ จุดแปลกเปลี่ยนเงิน  จากนั้นก็เดินทางผ่านเมืองต่างๆ  ของมาเลเซีย  และแวะรับประทานอาหารเย็นที่ภัตตาคาร  ก่อนถึงเกาะปินัง    และเข้าพักโรงแรม Grand  Continental  บนเกาะปีนัง


วันอังคารที่  25 มกราคม 2554  
          รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม Grand  Continental  ออกจากโรงแรม ชมป้อมปืน  รับประทานอาหารเที่ยง ที่ร้าน Garden Seafood  ชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย   ชมอนุสาวรีย์ทหารอาสา   ชมเสาธงที่สูงที่สุดในโลก      ชมตึกแฝด    แวะร้านช็อคโกแลตเพื่อให้ทุกคนซื้อของฝาก  ออกเดินทางสู่เก็นติ้งเมืองมหานครบนภูเขาสูง   ระหว่าง ทางก็สนุกสนานกับการเล่นเกมส์  และร้องเพลงคาราโอเกะ  แต่เมื่อใกล้บริเวณสถานีขึ้นกระเช้าไฟฟ้า  ก็พบกับหมอกหนา  อากาศเริ่มเย็น  ฝนกำลังจะตก  แต่โชคดีที่เรามาถึงก่อนก็ได้ขึ้นกระเช้าไฟฟ้า  พบกับบรรยากาศน่าตื่นเต้นเนื่องจากความสูงมากๆ  ระหว่างที่กระเช้าขึ้นสู่เขา  ดินแดนมหานครบนภูเขาสูง  ทุกคนก็ตื่นตาตื่นใจ  กับสิ่งที่ได้พบได้เห็น  มันช่างเป็นสิ่งที่อัศจรรย์จริงๆ  แสดงถึงความสามารถของมนุษย์ที่คิดสร้างมหานครแห่งนี้  จากนั้นก็เข้าสู่ที่พัก โรงแรม First World   รับประทานอาหารค่ำ  ซึ่งเป็นแบบบุฟเฟ่  อาหารมากมายหลายๆ  ชนิด  และชมบรรยากาศภายในเก็นติ้ง  แล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย
วันพุธ  ที่  26 มกราคม 2554              
รับประทานอาหารเช้า ณ ภัตตาคารของโรงแรม First World   ลง จากเก็นติ้งวันนี้ทัศนวิสัยไม่ค่อยดี  ฝนตกเล็กน้อยกระเช้าไฟฟ้าไม่ทำงาน  ก็เลยต้องลงด้วยรถบัสของเก็นติ้ง  จากนั้นก็เดินทางมุ่งสู่สิงคโปร์  แต่ระหว่างทางก็แวะร้านดิวตี้ฟรี ร้านขนม  นาฬิกา  น้ำหอม  และของฝาก  รับประทานอาหารเที่ยง Malaysia Kitchen  และชมตึกรัฐสภา  มัสยิดสีชมพู   รับประทานอาหารค่ำ  จากนั้นเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่ยโฮบารูเมืองชายแดนติดกับประเทศสิงคโปร์  ถึงด่านแจ้งหนังสือเดินทางออกจากมาเลเซียเพื่อเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ที่ด่านวู๊ดแลนด์   เข้าสู่ที่พัก  AQUEEN HOTEL
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2554 
          รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม   AQUEEN HOTEL  เดินทางไปชม  สิงโตพ่นน้ำ สัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์  รับประทานอาหารเที่ยวชมบริเวณอ่าวสิงคโปร์  บริเวณเมอร์ไลออน  ร้านดิวตี้ฟรี ช้อบปิ้งบริเวณถน              ออร์ชาร์ด รับประทานอาหารเที่ยง  เกาะเซ็นโตซ่า (Sentosa) ซึ่งเป็นเกาะที่สร้างขึ้นตามความคิดฝัน  ให้เป็นแหล่งบันเทิง  ชมยูนิเวอร์เซล ชมภาพยนตร์ 4 มิติ ( 4D ) ที่ตื่นตากตื่นใจ  นั่งรถไฟฟ้า ชมบรรยากาศรอบเกาะเซนโตซา            รับประทานอาหารเย็น ชมน้ำพุเต้นระบำ Song of the sea  ล่องเรือชมอ่าวสิงคโปร์  ออกจากสิงคโปร์กลับสู่ประเทศมาเลเซีย  เข้าพักโรงแรม Selasa  ซึ่งเป็นโรงแรมอยู่ชายแดนมาเลเซีย
วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2554 
          รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม   Selasa  ออกจากโรงแรม    มุ่งหน้าสู่ด่านจังโหลน   แวะรับประทานอาหารเที่ยง   ถึงร้านดิวตี้ฟรี บริเวณชายแดนมาเลเซีย  ให้ทุกคนซื้อของฝาก  และเดินทางสู่ประเทศไทย  ด่านสะเดา  รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย  และเดินทางต่อถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  ประมาณ  23.00  น.
ความประทับใจ
จากการศึกษาดูงาน ณ Sekolah  Kebangsaan Kodiag school  มีการแสดงต้อนรับของนักเรียน และกล่าวต้อนรับ พร้อมนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของ Sekolah  Kebangsaan Kodiag school  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Sekolah  Kebangsaan Kodiag school  มี 3 อาคาร เปิดสอน 7 ชั้นเรียน  เปิดเรียนสัปดาห์ละ 5 วัน  มีครู 47 คน เป็นชาย 16 คน หญิง 31 คน  นักเรียนจำนวน 591 คน แต่ละชั้นแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ คือ  Excellence   Genius และ  Smart เริ่มเรียนเวลา 7.30 น. เลิกเรียน 12.00 น. โรงเรียนส่งเริมกิจกรรมกีฬา มีโครงการ 1 นักเรียน 1 กีฬา  มีกองทุนค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียน  เช่น หนังสือยืมเรียน  อาหารกลางวัน เป็นต้น  การจัดห้องสำนักงาน และสิ่งแวดล้อมเรียบร้อย เรียบง่าย เน้นความเป็นระเบียบ การจัดห้องเรียนมีความสวยงาม แปลกใหม่ น่าสนใจ อาคารเรียนอนุบาลแยกต่างหาก มีช่วงเวลาพักผ่อนสำหรับนักเรียนอนุบาล ห้องน้ำห้องส้วมสะอาด  มีการวางแผนใช้ประโยชน์อาคารสถานที่อย่างลงตัวและคุ้มค่า
จาก การศึกษาดูงานดังกล่าว สามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน เกี่ยวกับการจัดแบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสมารถ และจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพที่มีอยู่  อีกทั้งการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงออกความสามารถทางด้านกีฬา ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี  อยู่ในสังคมโรงเรียนอย่างมีความสุข  นอกจากนี้สิ่งที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่าง คือ การจัดบรรยากาศในห้องเรียนที่สามารถจัดตกแต่งได้สวยงาม แปลกใหม่  กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
 เก็นติ้ง ก่อตั้งโดย ลิ้มโกตง  ข้าพเจ้าได้นั่งกระเช้าลอยฟ้า ตื่นเต้นสุดๆ นั่งกระเช้าไฟฟ้า (Genting Skyway) ขึ้นไปบนยอดเขา เก็นติ้ง ซึ่งมีความสูงถึง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ระยะทางของกระเช้า 3.4 กิโลเมตร ซึ่งระหว่างทางจะผ่านผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงามเป็นอย่างมาก บนยอดเขาเก็นติ้งมีโรงแรมหรูระดับ 5 ดาวให้เลือกอยู่ 5 แห่งด้วยกัน ซึ่งราคาก็ต่างกันไปตามความหรูหราของโรงแรม  ซึ่งคณะดูงานได้พักที่ First World Hotel มี อย่างหนึ่งที่ทุกโรงแรมที่นี่เหมือน กันก็คือ ห้องทุกห้องจะไม่มีเครื่องปรับอากาศ เพราะว่าอากาศที่บนยอดเขาเก็นติ้ง จะเย็นตลอดทั้งปีอยู่แล้ว แค่เปิดหน้าต่างแง้มไว้หน่อยเดียวก็เย็นจับใจแล้ว  โรงแรมที่นี่เค้าจะให้เช็คอินตอนบ่าย 3 โมง และ เช็คเอาท์ตอน เที่ยงตรง สำหรับภายในโรงแรม มีส่วนของช็อปปิ้งและร้านอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีร้านอาหารนานาชนิด ตั้งแต่ Fast food ไปจนถึง ภัตตาคารสุดหรู  มีสวนสนุก ซึ่งมีให้เลือกเล่นทั้งสวนสนุกในร่มและสวนสนุกกลางแจ้ง เพราะว่ามีเครื่องเล่นให้เลือกเล่นมากถึง 55 ชนิด ทั้งเครื่องเล่นประเภทหวาดเสียว เช่น Genting Sky Venture, Flying Coaster, Turbo Drop เป็นต้น และ รวมไปถึงเครื่องเล่นประเภทสนุกสนานสำหรับคุณน้องคุณหนูตัวน้อยๆ และที่พลาดไม่ได้ก็เห็นจะเป็นส่วนของ Snow World ซึ่งเป็น Snow World ที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซีย  และที่นี่ก็ยังมี บ่อนคาสิโน  การเข้าไปในบ่อน ผู้ชายต้องสวมเสื้อเชิ้ต กางเกงยายาว ร้องเท้าหุ้มส้น ผู้หญิงแต่งแบบไหนก็ได้ 
สิงคโปร์ (Singapore)
สิงคโปร์ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดนิ่งที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ระดับโลก    มีพื้นที่เท่ากับเกาะภูเก็ต ประมาณ 682.7 ตร.กม. แต่สร้างรายได้ประชาชาติสูงสุดติดระดับโลก 117,083 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลสิงคโปร์เน้นสร้าง คุณภาพคน โดยเน้นคุณภาพการศึกษาและความรู้เป็น พื้นฐานให้คนสิงคโปร์ทั้งชายและหญิงเป็นคน เก่ง แต่ก็ต้องประสบปัญหาด้านสังคม เมื่อพบว่าอัตราการเติบโตของประชากรทั้งหญิงและชาย ลดลง ไม่ยอมแต่งงานยินดีที่จะอยู่เป็น โสด และทำงานเลี้ยงตัวเองอย่างเท่าเทียมกัน
    ภาษา ภาษาอังกฤษ มาเลย์ จีนกลางเป็นภาษาราชการ แต่ร้องเพลงชาติภาษามาเลย์
    สภาพอากาศ สิงคโปร์มีอากาศอบอุ่นชื้นตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 24-31 องศาเซลเซียส ชุดที่สวมใส่ประจำวันควรเป็นเสื้อผ้าสำหรับฤดูร้อนที่เบาสบายและทำจากเส้นใย ธรรมชาติอย่างผ้าฝ้าย
    เงินตรา สกุลดอลลาร์สิงคโปร์ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 24.5 บาท (26 มกราคม 2554)          
    น้ำดื่ม  สามารถดื่มน้ำจากก๊อกน้ำประปาในสิงคโปร์ได้อย่างปลอดภัย
    ห้าม เด็ดขาด สิงคโปร์มีกฎหมายเคร่งครัดในเรื่องระเบียบวินัย เช่น การถ่มน้ำลาย การทิ้งขยะ กฎจราจร การข้ามถนน การสูบบุหรี่ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับเป็นเงิน 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ยกเว้นสถานที่เที่ยวกลางคืน ที่สำคัญห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง
 ไฟฟ้าและปลั๊กไฟ     ไฟฟ้าเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 220-240 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ใช้ปลั๊กไฟแบบ 3 ขาสี่เหลี่ยมจัตุรัส
สถานที่ท่องเที่ยวที่ ข้าพเจ้าได้ไปคือ บริเวณ Marina Bay, ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมอร์ไลออน (Merlion) และเกาะเซ็นโตซ่า  ยูนิเวอร์เซล ได้ชมภาพยนตร์ 4 มิติ  (4D) เรื่อง“Pirates” ภาพยนตร์ แนวผจญภัยของเหล่าลูกเรือโจรสลัด และกัปตันลัคกี้ ในการออกค้นหาสมบัติล้ำค่าที่ถูกฝังไว้  การ ชมภาพยนตร์ต้องสวมแว่นตาพิเศษที่โรงหนังจัดให้ ขณะชมเราจะรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนั้น ได้สัมผัสทั้งรูป รส กลิ่น เสียง  สนุกสนานและประทับใจมาก  นอกจากนี้ยังได้ชมน้ำพุเต้นระบำ song of the sea สวยงาม ตื่นตา ตื่นใจมาก ๆ

กิจกรรมที่ 4 บริบทของโรงเรียน

 
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดตั้งขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  เนื่อง จากเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2531 ได้เกิดอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นในภาคใต้ ยังผลให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ประชากรจำนวนมากที่ต้องไร้ที่อยู่ ที่อาศัย ที่ทำมาหากิน และมีความลำบากยากจน ยังผลให้เยาวชนขาดโอกาสในการศึกษา ดังนั้นมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการจัด ตั้งโรงเรียนนี้ขึ้นเป็นกรณีพิเศษและเร่งด่วน เพื่อที่จะรับเด็กที่เป็นบุตรหลานของผู้ที่ประสบอุทกภัย และเด็กที่ขาดโอกาสดังกล่าวให้เข้าเรียน โดยให้พักอาศัยและกินอยู่ประจำที่โรงเรียน โดยมีมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปภัมภ์ได้ร่วมบริจาคเงินในการก่อ สร้างเป็นเงิน 60 ล้านบาท และได้สร้างเป็นโรงที่ 19 ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 20 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ( บ้านควนไม้แดง ) และ พลเอกมานะ รัตนโกเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น ได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 23 มีนาคม 2532 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2532 นายบรรจง  ชูสกุลชาติ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นได้มาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียน   เมื่อโรงเรียนได้ดำเนินการสร้างเสร็จเป็นเรียบร้อยแล้ว  พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงทำพิธีเปิดโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 30 กันยายน 2533  และ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมชมโรงเรียนถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 วันที่  16  สิงหาคม  .. 2534   ครั้งที่ 2 วันที่  24  สิงหาคม พ.. 2536 และครั้งที่ 3 วันที่ 30  ตุลาคม พ.. 2540 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้
สภาพความเป็นอยู่
ปัจจุบันโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช  สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ  เปิดรับนักเรียนประเภทเด็กด้อยโอกาส  ทั้งในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 6   และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6  แบบสหศึกษา  ประเภทอยู่ประจำ   ผู้บริหาร  ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมีทั้งหมด  60  คน   มีผู้บริหารจำนวน 4  คน  โดย นายกมล  สุวรรณเอกฉัตร  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ข้าราชการครู จำนวน 37  คน พนักงานราชการ จำนวน  9 คน ครูพิเศษ จำนวน 2 คน  ครูทุนเสมาพัฒนาชีวิต จำนวน  1  คน ลูกจ้างโครงการคืนครูให้นักเรียน จำนวน 1 คน และลูกจ้างประจำ จำนวน  6 คน  ในปีการศึกษา 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2553)  มีนักเรียนจำนวน  601  คน  ในระดับชั้นประถมศึกษาจำนวน 155 คน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน  273  คน  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 173 คน  มีอาคารเรียนทั้งหมด 5  หลัง หอประชุม 1 หลัง  โรงหุงต้ม 1 หลัง   หอนอนสำหรับนักเรียนทั้งหมด 14  หลัง   และบ้านพักครู 
     จุดเด่น
     1. โรงเรียนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  อย่างมีคุณภาพให้แก่เด็กผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง
     2. โรงเรียนมีหน้าที่ปรับสภาพฟื้นฟูจิตใจ เนื่องจากนักเรียนขาดความอบอุ่น ต้องจัดกระบวนการเรียนการสอน และกิจกรรมสม่ำเสมอ เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้
     3. โรงเรียนได้รับงบประมาณ ด้านสาธารณูปโภค ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน  รวมทั้งการก่อสร้างถนนคอนกรีตต่อจากของเดิมที่ยังขาดอยู่เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
      จุดด้อย
      1. โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายตามรายวิชาที่นักเรียนต้องการเพราะมีบุคลากรจำกัด ประกอบกับสื่อวัสดุต่างๆมีไม่เพียงพอ
      2. นัก เรียนมีพื้นฐานสภาพครอบครัวที่แตกต่างกัน ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย การศึกษาเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยและด้านอื่นๆ ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ต้องใช้เวลา ใช้ความรู้ ความสามารถ ร่วมมือกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันปัญหา
      3. โรงเรียนขาดบุคลากรด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อทำหน้าที่โดยตรงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนด้านต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
      โอกาสที่จะพัฒนา
      1.  เด็กผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาตามศักยภาพอย่างทั่วถึง
      2.  ผู้เรียน  เป็นผู้ใฝ่รู้  มีคุณธรรม  จริยธรรมตามมาตรฐานการศึกษา
      3.  ผู้เรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      4.  บุคคลากรครู  และบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
      5.  ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
     
      2. ระบบข้อมูลสถานศึกษา
โรงเรียนมีโครงสร้างการบริหารงานแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มบริหารงบประมาณ   กลุ่มบริหารงานบุคคล  กลุ่มบริหารงานวิชาการ  กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน  กลุ่มบริหารงานทั่วไป  ซึ่งแต่ละกลุ่มงานมีการจัดเก็บข้อมูลดังนี้
2.1 กลุ่มบริหารงบประมาณ  ได้แก่ งานการเงิน  งานบัญชี  และงานพัสดุ  เนื่องจากโรงเรียนเป็นหน่วยเบิก  จะใช้ระบบ GFMIS 
2.2 กลุ่มบริหารงานวิชาการ  งานวัดผลและประเมินผลใช้ระบบ Student 51  ในการจัดเก็บข้อมูลนักเรียน  และครูจะใช้โปรแกรม  Bookmark ในการกรอกคะแนนนักเรียนและตัดเกรดผลการเรียนนักเรียน
2.3 กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน  จัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นหอนอน  รวมทั้งมีแบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนโดยให้ครูประจำหอนอนเป็นผู้รับผิดชอบ 
2.4 กลุ่มบริหารงานบุคคล  จัดเก็บข้อมูลบุคลากรทุกคนในโรงเรียนอยู่ในลักษณะแฟ้มรายบุคคล   มีรูปภาพ  ประวัติส่วนตัว  ประวัติการศึกษา  ประวัติการรับราชการ เป็นต้น
2.5 กลุ่มบริหารงานทั่วไป  ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศของโรงเรียน  จัดทำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน  ธรรมนูญโรงเรียน  แผนปฏิบัติการประจำปี  การประกันคุณภาพภายใน เป็นต้น
    
     3. ระบบนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
     3.1 เนื่องจากทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ กำหนดให้โรงเรียนจัดตารางการเรียนการสอนตรง กลับโรงเรียนวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์  นักเรียนเรียนหนังสือกับครูตู้ควบคู่ไปกับครูในโรงเรียน
     3.2 นักเรียนใช้ห้องปฏิบัติ e-learning  ของโรงเรียน  สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง  ในแต่ละรายวิชา
     3.3 ทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์  กำหนดให้นักเรียนในโรงเรียนได้มีการประชุมทางไกลและ แลกเปลี่ยนความรู้ในแต่ละรายวิชา  ผ่านระบบ  Video  Conference   เดือนละ 1 ครั้ง  กับโรงเรียนวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์