การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
บริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

มาเล-สิงคโปร

25540227

กิจกรรมที่ 4 บริบทของโรงเรียน

 
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดตั้งขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  เนื่อง จากเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2531 ได้เกิดอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นในภาคใต้ ยังผลให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ประชากรจำนวนมากที่ต้องไร้ที่อยู่ ที่อาศัย ที่ทำมาหากิน และมีความลำบากยากจน ยังผลให้เยาวชนขาดโอกาสในการศึกษา ดังนั้นมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการจัด ตั้งโรงเรียนนี้ขึ้นเป็นกรณีพิเศษและเร่งด่วน เพื่อที่จะรับเด็กที่เป็นบุตรหลานของผู้ที่ประสบอุทกภัย และเด็กที่ขาดโอกาสดังกล่าวให้เข้าเรียน โดยให้พักอาศัยและกินอยู่ประจำที่โรงเรียน โดยมีมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปภัมภ์ได้ร่วมบริจาคเงินในการก่อ สร้างเป็นเงิน 60 ล้านบาท และได้สร้างเป็นโรงที่ 19 ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 20 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ( บ้านควนไม้แดง ) และ พลเอกมานะ รัตนโกเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น ได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 23 มีนาคม 2532 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2532 นายบรรจง  ชูสกุลชาติ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นได้มาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียน   เมื่อโรงเรียนได้ดำเนินการสร้างเสร็จเป็นเรียบร้อยแล้ว  พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงทำพิธีเปิดโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 30 กันยายน 2533  และ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมชมโรงเรียนถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 วันที่  16  สิงหาคม  .. 2534   ครั้งที่ 2 วันที่  24  สิงหาคม พ.. 2536 และครั้งที่ 3 วันที่ 30  ตุลาคม พ.. 2540 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้
สภาพความเป็นอยู่
ปัจจุบันโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช  สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ  เปิดรับนักเรียนประเภทเด็กด้อยโอกาส  ทั้งในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 6   และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6  แบบสหศึกษา  ประเภทอยู่ประจำ   ผู้บริหาร  ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมีทั้งหมด  60  คน   มีผู้บริหารจำนวน 4  คน  โดย นายกมล  สุวรรณเอกฉัตร  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ข้าราชการครู จำนวน 37  คน พนักงานราชการ จำนวน  9 คน ครูพิเศษ จำนวน 2 คน  ครูทุนเสมาพัฒนาชีวิต จำนวน  1  คน ลูกจ้างโครงการคืนครูให้นักเรียน จำนวน 1 คน และลูกจ้างประจำ จำนวน  6 คน  ในปีการศึกษา 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2553)  มีนักเรียนจำนวน  601  คน  ในระดับชั้นประถมศึกษาจำนวน 155 คน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน  273  คน  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 173 คน  มีอาคารเรียนทั้งหมด 5  หลัง หอประชุม 1 หลัง  โรงหุงต้ม 1 หลัง   หอนอนสำหรับนักเรียนทั้งหมด 14  หลัง   และบ้านพักครู 
     จุดเด่น
     1. โรงเรียนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  อย่างมีคุณภาพให้แก่เด็กผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง
     2. โรงเรียนมีหน้าที่ปรับสภาพฟื้นฟูจิตใจ เนื่องจากนักเรียนขาดความอบอุ่น ต้องจัดกระบวนการเรียนการสอน และกิจกรรมสม่ำเสมอ เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้
     3. โรงเรียนได้รับงบประมาณ ด้านสาธารณูปโภค ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน  รวมทั้งการก่อสร้างถนนคอนกรีตต่อจากของเดิมที่ยังขาดอยู่เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
      จุดด้อย
      1. โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายตามรายวิชาที่นักเรียนต้องการเพราะมีบุคลากรจำกัด ประกอบกับสื่อวัสดุต่างๆมีไม่เพียงพอ
      2. นัก เรียนมีพื้นฐานสภาพครอบครัวที่แตกต่างกัน ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย การศึกษาเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยและด้านอื่นๆ ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ต้องใช้เวลา ใช้ความรู้ ความสามารถ ร่วมมือกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันปัญหา
      3. โรงเรียนขาดบุคลากรด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อทำหน้าที่โดยตรงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนด้านต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
      โอกาสที่จะพัฒนา
      1.  เด็กผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาตามศักยภาพอย่างทั่วถึง
      2.  ผู้เรียน  เป็นผู้ใฝ่รู้  มีคุณธรรม  จริยธรรมตามมาตรฐานการศึกษา
      3.  ผู้เรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      4.  บุคคลากรครู  และบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
      5.  ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
     
      2. ระบบข้อมูลสถานศึกษา
โรงเรียนมีโครงสร้างการบริหารงานแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มบริหารงบประมาณ   กลุ่มบริหารงานบุคคล  กลุ่มบริหารงานวิชาการ  กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน  กลุ่มบริหารงานทั่วไป  ซึ่งแต่ละกลุ่มงานมีการจัดเก็บข้อมูลดังนี้
2.1 กลุ่มบริหารงบประมาณ  ได้แก่ งานการเงิน  งานบัญชี  และงานพัสดุ  เนื่องจากโรงเรียนเป็นหน่วยเบิก  จะใช้ระบบ GFMIS 
2.2 กลุ่มบริหารงานวิชาการ  งานวัดผลและประเมินผลใช้ระบบ Student 51  ในการจัดเก็บข้อมูลนักเรียน  และครูจะใช้โปรแกรม  Bookmark ในการกรอกคะแนนนักเรียนและตัดเกรดผลการเรียนนักเรียน
2.3 กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน  จัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นหอนอน  รวมทั้งมีแบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนโดยให้ครูประจำหอนอนเป็นผู้รับผิดชอบ 
2.4 กลุ่มบริหารงานบุคคล  จัดเก็บข้อมูลบุคลากรทุกคนในโรงเรียนอยู่ในลักษณะแฟ้มรายบุคคล   มีรูปภาพ  ประวัติส่วนตัว  ประวัติการศึกษา  ประวัติการรับราชการ เป็นต้น
2.5 กลุ่มบริหารงานทั่วไป  ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศของโรงเรียน  จัดทำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน  ธรรมนูญโรงเรียน  แผนปฏิบัติการประจำปี  การประกันคุณภาพภายใน เป็นต้น
    
     3. ระบบนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
     3.1 เนื่องจากทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ กำหนดให้โรงเรียนจัดตารางการเรียนการสอนตรง กลับโรงเรียนวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์  นักเรียนเรียนหนังสือกับครูตู้ควบคู่ไปกับครูในโรงเรียน
     3.2 นักเรียนใช้ห้องปฏิบัติ e-learning  ของโรงเรียน  สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง  ในแต่ละรายวิชา
     3.3 ทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์  กำหนดให้นักเรียนในโรงเรียนได้มีการประชุมทางไกลและ แลกเปลี่ยนความรู้ในแต่ละรายวิชา  ผ่านระบบ  Video  Conference   เดือนละ 1 ครั้ง  กับโรงเรียนวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น