ในปัจจุบันการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา จะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ งานวิจัย Thesis หรือ Dissertation เพื่อนำเสนอขอรับปริญญา ตลอดจนการทำวิจัยของนักวิจัยในหน่วยงานต่าง ๆ ครูที่ทำวิจัยเพื่อขอเลื่อนตำแหน่ง ปรับเงินเดือน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงคุณภาพ และข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงปริมาณ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยผู้วิจัยให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวด เร็วและถูกต้องมีอยู่ด้วยกันหลายโปรแกรม ซึ่งโปรแกรม SPSS ก็เป็นโปรแกรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากใช้งานได้ง่าย และสามารถหามาใช้ได้ง่าย นอกจากนี้โปรแกรมยังมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จึงขอสรุปการใช้งานโปรแกรม SPSS ดังนี้
1. การเรียกใช้งานโปรแกรม SPSS
- ให้คลิก Icon SPSS ที่ Desktop หรือคลิกที่ปุ่ม Start เลือก All Program คลิกที่ Program SPSS ก็จะปรากฏหน้าต่างของโปรแกรม SPSS
2. การสร้างแฟ้มข้อมูล
- การสร้างแฟ้มข้อมูล คือ การบันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถามได้ลงในโปรแกรม SPSS ซึ่งในส่วนนี้จะประกอบด้วย
* Data View
* Variable View
การสร้างแฟ้มข้อมูล Data Editor Variable View จะปรากฏดังนี้
1. การตั้งค่าต่างๆ ลงใน Variable View โดยมีเมนูย่อย ดังนี้
1. Name ตั้งชื่อตัวแปร เช่น เพศ
2. Type กำหนดชนิดของตัวแปร
3.Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข
4.Comma เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และโปรแกรม จะใส่เครื่องหมาย Comma Dot เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และมี Comma หนึ่งอัน สำหรับคั่นทศนิยม
5.Width คือ ความกว้างของข้อมูลโดยรวมจุดและจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมด้วย สามารถกำหนดความกว้างของข้อมูลได้สูงสุด 40 หลัก
6.Decimals คือ จำนวนหลักหลังจุดทศนิยม กำหนดทศนิยมได้สูงสุด 10 หลัก
7.Label ส่วนที่ใช้อธิบายความหมายชื่อตัวแปร เนื่องจากการกำหนดชื่อตัวแปรที่ Name กำหนดได้เพียง 8 ตัวอักษร เพื่อประโยชน์ตอนแสดงผลลัพธ์
8.Values กรณีที่ข้อมูลเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดค่าตัวเลข (Value) และ Value Label เพื่ออธิบายความหมายที่แท้จริงของตัวเลขนั้น เช่น คำถามเกี่ยวกับ เพศ ( เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ) มีคำตอบให้เลือก ดังนี้ เพศชาย เพศหญิง ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศชาย กำหนดให้เพศชายมีค่าเป็น 1 ดังนั้น Value จะใส่ 1 Value Label จะใส่ ชาย ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศหญิง กำหนดให้เพศหญิงมีค่าเป็น 2 ดังนั้น Value จะใส่ 2 Value Label จะใส่ หญิง
9.Missing เป็นการกำหนดค่าที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้วิจัยเลือก Discrete Missing Values แล้วพิมพ์ตัวเลขลง ใช้แทนความหมายบางค่าที่ไม่สมบูรณ์ เช่น 9, 99, 999 คำถามเกี่ยวกับเพศ มีคำตอบให้เลือกดังนี้ เพศชาย เพศหญิง โดยผู้วิจัยจะกำหนดค่าที่เป็นไปไม่ได้สูงสุดของตัวแปรนั้นมาเป็นรหัส คือ 9
10.Columns เป็นการกำหนดความกว้างของ Column Align เป็นการกำหนดให้ค่าของข้อมูลแสดงชิดซ้าย ขวา หรือกลาง
11. Measure การกำหนดลักษณะข้อมูลว่าเป็น Scale, Ordinal หรือ Nominal Scale คือ ข้อมูลที่ใช้วัด Ordinal คือ เลขแสดงลำดับ Nominal คือ ข้อมูลนามบัญญัติ
3. การพิมพ์ค่าข้อมูล Data View
เมื่อผู้วิจัยกำหนด Variable View เรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาที่ Data View เพื่อพิมพ์ค่าของข้อมูลต่างๆ ตามที่ผู้ตอบข้อมูลในแบบสอบถามทุกฉบับ และบันทึกแฟ้มข้อมูลทุกครั้งด้วยคำสั่ง File Save
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อผู้ทำการวิจัยจัดการกับข้อมูลเสร็จแล้ว จะวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้าน มีวิธีการ ดังนี้
- คลิกที่แถบคำสั่ง Transform เลือก compute แล้วดำเนินการจัดการกับข้อมูลตามแบบสอบถาม แต่ละด้าน แล้วเลือกคลิก OK ก็จะได้ทราบค่าสถิติเบื้องต้น
- การนำเสนอข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น วิธีการทางสถิติที่นิยมใช้กันมาก คือ
- การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
- การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางหลายทาง
- การแจกแจงความถี่ในรูปของกราฟ
- การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาโดยโปรแกรม SPSS
5. การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
เป็นการแจกแจงข้อมูลโดยใช้ ตัวแปรเพียงตัวเดียว มีขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกคลิกเมนูและคำสั่งตามลำดับ ดังนี้ Analyze Frequencies จะปรากฏวินโดวส์ของ Frequencies ดังนี้ Descriptive Statistics
2. เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไปไว้ในบล์อคของ Variable(s)
3. คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS Valid คือ ข้อมูลที่นำมาแจกแจงความถี่
Missing คือ ข้อมูลที่ขาดหายไปหรือไม่สมบูรณ์
Total คือ ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาแจกแจงความถี่
Frequency คือ ค่าที่แสดงจำนวน หรือความถี่ที่นับได้
Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวน หรือความถี่ที่นับได้ ในรูปร้อยละ
Valid Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวนที่นับได้ในรูปร้อยละ โดยไม่นำจำนวนข้อมูลที่เป็น missing มารวม
Cumulative Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวนสะสมในรูปร้อยละ โดยนำจำนวนข้อมูลที่เป็น missing มารวม
6. ความหมายของผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS
- การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น
- การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
- ค่าเฉลี่ย (Mean)
- ฐานนิยม (Mode)
- มัธยฐาน (Median)
- การวิเคราะห์การกระจายของข้อมูล
- พิสัย (Range)
- ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation)
- ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Average Deviation)
- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
- สัมประสิทธิ์การแปรผัน (Coefficient of Variation)